บทที่ 5

1. อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้

- Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก เรียกย่อว่า เว็บ( Web ) ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้าแต่ละหน้าเรียกว่า เว็บเพจ( Web Page ) แหล่งเก็บเว็บเพจ
w=world = โลก
w=wide = กว้างขวาง แพร่หลาย
w=web = โครงข่าย ใยแมงมุม



WWW.


- E-Mail (Electronic Mail) จดหมายอิเลคทรอนิกส์ คืออะไร
คือจดหมายอิเลคทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง

E-mail



- เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมเรียกดูเว็บไซต์ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) พีเอชพี (php) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ (www)

Read more: http://mukdahanknowledge.blogspot.com/2013/04/web-browser.html#ixzz2iHGTbHs3



Web Browser


- Domain Name (โดเมน) คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ "ชื่อเว็บไซต์" คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป


Domain name


 - IP address ย่อมาจาก Internet Protocol Address หมายถึง หมายเลขประจำเครื่องที่ต้องกำหนดไว้ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกๆ เครื่องและอุปกรณ์ทุกชิ้น
ในเครือข่าย Network ซึ่งแต่ละหมายเลข IP Address ที่จะกำหนดให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่ง IP จะถูกกำหนดเป็นตัวเลขทั้งหมด เช่น 111.222.333.444 ในสมัยแรกๆของการใช้คอมพิวเตอร์ที่ยังไม่มีการต่อเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน IP Address จึงไม่มีความจำเป็น แต่ในยุคหลังมีการพัฒนาการระบบการสื่อสารกันขึ้น การส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกที่ที่หนึ่ง หรือ จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง มีความจำเป็นที่จะต้อง มีการจัดลำดับ ระบบเส้นทางการสื่อสาร เนื่องจากมีผู้ที่ใช้งานเป็นจำนวนมาก จึงใช้ระบุตัวตน ต้นทางและปลายทาง ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ดังนั้นการที่เราใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และมีการเชื่อมต่อการสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การ เล่น MSN Hi5. Facebook  Camfrog เหล่านี้ ตามปกติของกฏหมายแล้ว หน่วยควบคุมการสื่อสารกลางหรือที่เรียดว่า Sever มีหน้าที่ๆต้องเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานไว้ตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าหากมีการโพส ข้อมูลลงใน แหล่งการติดต่อสื่อสารต่างๆ ระบบSever ก็จะมีการบันทึก ข้อมูลของผู้ใช้งานนั้นโดยอัตโนมัติ



IP Addrass




2. อินเตอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร

            อินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา คือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย แต่ละ web site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ  รูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digital library ที่มี หนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online   การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสารระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน  ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้   การเรียนแบบ online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีดความสามารถของตนเอง  ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า  นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้องก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ email หรือ discussion group


ระบบการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น