บทที่ 1

 1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน


               1.1 เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

       ตัวอย่างเทคโนโลยี -โทรศัพท์มือถือ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร -เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในอินเตอร์เน็ต -ตู้ ATM ที่ใช้ในการฝาก-ถอนเงินสด



เทคโนโลยี



                 1.2 สารสนเทศ (Information literacy) สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

       ตัวอย่างสารสนเทศ สารสนเทศ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สื่อต่างๆ, TV,การหาข้อมูลในคอมพิวเตอร์ , การโอนตังผ่านระบบออนไลน์, การใช้โทรศัพท์มือถือ การใช้ E-mail ฯลฯ



สารสนเทศ



                1.3 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology) เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก(ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)

       ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุหรือดู โทรทัศน์ ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบบหนึ่ง การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 



เทคโนโลยีสารสนเทศ


                1.4 ข้อมูล(data) คือข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง ข้อมูลจึงจำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ดีมีความถูกต้องแม่นยำ

       ตัวอย่างข้อมูล ระเบียนประวัติของนักเรียนข้อความบนระเบียนประวัติของนักเรียนจากรูปที่ 2.3 ทำให้ทราบว่า เพชร แข็งขัน เป็นนักเรียนชาย เกิดวันที่ 12 เดือนมกราคม ปีพุทธศักราช 2525 ดังนั้นข้อความ เพชร แข็งขัน ชาย และ 12 ม.ค. 2525 ที่อยู่บนระเบียนประวัตินักเรียนจึงเป็นข้อมูลถ้ามีการนำข้อมูลเกี่ยวกับปี เกิดของนักเรียนทั้งโรงเรียนจากระเบียนประวัติไปแจกแจงตามปีเกิด 



ข้อมูล



                1.5 ฐานความรู้ (Knowledge-based) เป็นระบบที่เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อใช้เป็นฐานในการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน เป็นระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับการช่วยตัดสินใจ ซึ่งสามารถใช้ได้กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ได้ทุกเรื่อง

       ตัวอย่างฐานความรู้ ระบบธนาคารซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บอาจจะประกอบด้วยรายละเอียดของลูกค้า โดยจัดเก็บชื่อ ที่อยู่ รายการฝากเงินรายการสินเชื่อ ยอดคงเหลือของบัญชีแต่ละประเภท เป็นต้น ระบบจองตั๋วเครื่องบิน ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บอาจประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับแต่ละเที่ยวบิน รายละเอียดเกี่ยวกับราคาตั๋ว และจำนวนตั๋วที่ยังคงเหลืออยู่ พร้อมทั้งข้อมูลของลูกค้า ซึ่งอาจจะเก็บชนิดของอาหารและหมายเลขที่นั่งที่ลูกค้าต้องการด้วย ระบบข้อมูล ของบริษัทหนึ่งๆ อาจจะเก็บข้อมูลรายละเอียด ของพนักงานทุกคน ข้อมูลโครงการและแผนกต่างๆ ของบริษัท รวมถึงอาจจะจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับญาติๆ ของพนักงานในบริษัทด้วยเพื่อประโยชน์ในการให้สวัสดิการแก่พนักงาน จะเห็นได้ว่าฐานข้อมูลมีอยู่ทั่วไป ขึ้นอยู่กับว่าจะจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไรคำตอบก็คือ ท่านควรจะเลือกซื้อซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลขึ้นมา ๑ ซอฟต์แวร์ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มีอยู่มากในท้องตลาด ในการตัดสินใจเลือกซื้อและเลือกใช้ซอฟต์แวร์ ทางหน่วยงานคงจะต้องศึกษาข้อมูลกันในหลายแง่มุม เช่น ปริมาณของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ ชนิดของข้อมูล งบประมาณที่มีอยู่สำหรับจัดซื้อซอฟต์แวร์ดีบีเอ็มเอส รูปแบบ รายงานที่ต้องการ เป็นต้น เพื่อค้นหาและระบุว่าควรจะใช้ซอฟต์แวร์ใดกับข้อมูลของหน่วยงาน ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้มักจะมีข้อเด่นและข้อด้อยต่างแง่มุมกันไป




ฐานความรู้



2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

                โครงสร้างสารสนเทศ มี 4 ระดับ ดังนี้ 1 ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าประมวลผลรายการ

       - เช่น การบันทึกยอดขายประจำวัน 2 ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำ ซึ่งเรียกว่างานควบคุมการดำเนินงาน
       - เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูลประมวลผลว่าในแต่ละเดือนต้องวางแผนในการสั่งผลิตสินค้าเท่าไหร่ถึงจะพอกับความต้องการของลูกค้าหรือจะผลิตสต๊อกไว้เท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม 3 ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่างานจัดการ
       - เช่น การประเมินผลการทำงานประจำปีของพนักงาน 4 ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์
       - เช่น การประเมินสรุปผลยอดขายในแต่ละปี 



โครงสร้างสารสนเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น